การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของตำบลห้วยบงในอดีตได้เคยรวมกลุ่มปลูกมาแล้วปร
ะมาณปี พ.ศ.2522  นำโดย อาจารย์อินปัน  สุรฤทธิพงษ์ และได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานเร่งรัด
พัฒนาชนบท โดยใช้พื้นที่บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง รวมทั้งพื้นรอบนอกด้วย
ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล แต่การปลูกหม่อนในครั้งนั้น
ไม่ประสบ ผลสำเร็จ เพราะต้นหม่อนได้เกิดโรครากเน่าตายหมด หรือชาวบ้านเรียกว่าโรค
ตายยุบ ทางกลุ่มจึงหยุดการปลูกหม่อน แต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของชาว บ้านก็ยังปลูก
และเลี้ยงกันอยู่เป็นบางราย แต่ไม่ได้รวมกันเป็นกลุ่ม

            ต่อมาปี พ.ศ. 2555 มีชาวบ้านรวมกลุ่มกันมาขอใช้พื้นที่สาธารณะบริเวณรอบ
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง เพื่อจะปลูกหม่อนอีกครั้ง นำโดยนางบัวไข  เติมศิลป์ ซึ่ง
ปัจจุบันเป็นประธานกลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

             เมื่อ 6 ตุลาคม 2555  เริ่มตั้งกลุ่มกันอย่างเป็นกิจจะลักษณะและลงมือถากถางบริเวณ
สถานที่ที่จะปลูกต้นหม่อน    สำหรับพันธุ์หม่อนที่ใช้ปลูกได้รับคำแนะนำจากศูนย์หม่อนไหม
เฉลิมพระเกียรติให้ใช้พันธุ์กลนคร จะทนแล้งได้ดี และพันธุ์บุรีรัมย์ 60 เพราะให้ผลผลิตสูง 
ส่วนตัวไหมให้เลี้ยงพันธุ์เหลืองไพโรจน์ เพราะเลี้ยงง่าย เป็นพันธุ์ไหมไทยลูกผสมระหว่าง
ไหมญี่ปุ่นพันธุ์ j108 กับไหมไทยแท้พันธุ์นางลาย

             ความรู้ทางวิชาการของกลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้มาจากการเข้าอบรมเรียนรู้กับ
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ

             การจำหน่าย บริษัท จูนไหมไทย  จังหวัดเพชรบูรณ์ จะรับซื้อรังไหมในราคาไม่น้อย
กว่ากิโลกรัมละ 150 ส่วน เส้นไหมซื้อในราคา กิโลกรัมละ 1,350 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพ
ของเส้นไหมแต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของบริษัท
  ส่วนการจำหน่ายผ้าไหม ก็จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป หรือบางครั้งก็มีผู้มารับซื้อ(การตลาดดีมากจนผลิตไม่ทัน)

                ปัจจุบันกลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของตำบลห้วยบง มีจำนวนสมาชิกประมาณ 500
ครัวเรือน


ความเป็นมาของกลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สัมภาษณ

กลับหน้าหลัก ปรับปรุงข้อมูล 1 ตุลาคม