อํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)

อำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562
1. มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
2. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67)
          1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
          (1/1) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
          2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
          3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
          4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
          5) จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน                รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
          6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
          7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
          8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
          9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร ให้ตามความจำเป็นและสมควร
3. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 68)
          1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
          2) ให้มีการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
          3) ให้มีการบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
          4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
          5) ให้มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
          6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
          7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
          8) การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
          9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
        10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
        11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
        12) การท่องเที่ยว
        13) การผังเมือง
4. การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะ ดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบลต้องแจ้งให้ อบต. ทราบล่วงหน้า ตามสมควร หาก อบต. มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้นำความเห็นของ อบต. ไปประกอบการพิจารณา ดำเนินกิจการนั้นด้วย (มาตรา 69)
5. การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของ อบต. ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำ
แผนพัฒนา อบต. การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วย
การนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กระทรวงมหาดไทยกำหนด (มาตรา 69/1)
6. มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการ ของทางราชการ ในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับ
การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (มาตรา 70)
7. ออกข้อบัญญัติ อบต. เพื่อใช้บังคับในตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ของ อบต. ในการ นี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้
แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกิน 1,000 บาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 71)
8. อาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วย การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติกิจการของ อบต. เป็นการชั่วคราว
ได้โดยไม่ขาด จากต้นสังกัดเดิม (มาตรา 72)
9. อาจทำกิจการนอกเขต อบต. หรือร่วมกับสภาตำบล อบต. อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วน ท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ (มาตรา 73)

อำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พ.ศ. 2542

1. มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (มาตรา 16)
          (1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
          (2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
          (3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
          (4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
          (5) การสาธารณูปการ
          (6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
          (7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
          (8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
          (9) การจัดการศึกษา
        (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
        (11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
        (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
        (13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
        (14) การส่งเสริมกีฬา
        (15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
        (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
        (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
        (18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
        (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
        (20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
        (21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
        (22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
        (23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และ สาธารณสถานอื่น ๆ
        (24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม
        (25) การผังเมือง
        (26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
        (27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
        (28) การควบคุมอาคาร
        (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
        (30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย ใน ชีวิตและทรัพย์สิน
        (31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องที่ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
2. อำนาจหน้าที่ของ อบต. ตามข้อ 1 ต้องดำเนินการตาม “แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนและการกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”

 

 

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบงแยกตามส่วนราชการ

สำนักปลัด
มีหน้าที่ดำเนินการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานธุรการและการเจ้าหน้าที่ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานแผน งบประมาณ งานนิติการ ซึ่งถือเป็นงานหลัก และยังมีงานอื่นๆ อีกหลายด้านเช่น งานจัดพิมพ์ และแจกจ่ายเอกสาร งาน รวบรวมข้อมูลสถิติ งานแปลเอกสาร งานเตรียมการสำหรับการประชุมงาน บันทึกเรื่องเสนอที่ประชุม งานทำรายงานประชุม และรายงานอื่นๆ งาน ติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ รวมทั้ง กำกับและเร่งรัดการปฏิบัติ หน้าที่ราชการ ของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น โดยแบ่งงานภายในออกเป็นดังนี้

งานธุรการและการเจ้าหน้าที่
มีหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณ งานประชุมสภา อบต. งานบริหารงานบุคคล และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับ มอบหมาย

งานแผนและงบประมาณ
มีหน้าที่เกี่ยวกับงานรวบรวม วิเคราะห์และให้บริการข้อมูล สถิติที่จำเป็นต้องนำมาใช้ ในการวางแผนและการ ประเมินผล ตามแผนทุกระดับ งานจัดทำและเรียบเรียงแผนพัฒนา การกำหนดเค้าโครงของแผนพัฒนาระยะปานกลาง และแผนประจำปี งานจัดเตรียมเอกสารแนวทาง การปฏิบัติงานประจำปีให้งานต่างๆ งานรวบรวมข้อมูลทางสถิต ิและ งบประมาณงานเสนอแนะ และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับ การจัดทำงบประมาณ งานศึกษาหลักฐานรายได้ใหม่ ๆ ของ องค์การบริหารส่วนตำบล หรืองานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

งานกฎหมายและคดี
มีหน้าที่เกี่ยวกับงานรวบรวม วิเคราะห์และให้บริการข้อมูล สถิติที่จำเป็นต้องนำมาใช้ ในการวางแผนและการ ประเมินผล ตามแผนทุกระดับ งานจัดทำและเรียบเรียงแผนพัฒนา การกำหนดเค้าโครงของแผนพัฒนาระยะปานกลาง และแผนประจำปี งานจัดเตรียมเอกสารแนวทางการปฏิบัติงานประจำปีให้งานต่างๆ งานรวบรวมข้อมูลทางสถิต ิและ งบประมาณงานเสนอแนะ และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ งานศึกษาหลักฐานรายได้ใหม่ ๆ ของ องค์การบริหารส่วนตำบลหรือ งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หน้าที่รับผิดชอบ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
-งานรักษาความปลอดภัยของสถานที่ราชการ
-งานป้องกันภัยและระงับอัคคีภัย
-งานวิเคราะห์และพิจารณา ทำความเห็น สรุป รายงาน เสนอแนะ รวมทั้งดำเนินการด้านกฎหมาย และระเบียบเกี่ยวกับการป้องกัน และระงับอัคคีภัยธรรมชาติ และสาธารณภัยอื่น เช่น อุทกภัย วาตภัย
-งานตรวจสอบ ควบคุมดูแลในการจัดเตรียมและอำนวยความสะดวกในการป้องกันบรรเทาและระงับสาธารณภัยต่าง ๆ
-งานจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
-งานฝึกซ้อมและดำเนินการตามแผน
-งานฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 

กองคลัง
มีหน้าที่เกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบ ใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบแสดงฐานะทางการเงิน การ จัดสรรเงินต่างๆ
การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่างๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบ ทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย โดยแบ่งงานภายในเป็นดังนี้

งานการเงินและบัญชี
- งานตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินทุกประเภท
- งานควบคุมและการจัดทำทะเบียนงบประมาณรายจ่าย
- งานจัดทำเช็คและจัดเก็บเอกสารการจ่ายเงิน
- งานการจ่ายเงินและตรวจสอบหลักฐานใบสำคัญคู่จ่าย
- งานจัดทำบัญชีและทะเบียนที่เกี่ยวข้องทุกประเภท
- งานจัดทำรายงานประจำวัน ประจำเดือน ประจำปี และรายงานอื่นๆ
- งานการซื้อและการจ้าง
- งานจัดทำทะเบียนพัสดุ
- งานการตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุและเก็บรักษาพัสดุ
- งานการจำหน่ายพัสดุ
- งานเก็บรักษา และเบิกจ่ายแบบพิมพ์ต่างๆ
- งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

งานพัสดุและทรัพย์สิน
มีหน้าที่เกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ ตลอดจนทรัพย์สินต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำ จัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่าย การจัดเก็บรักษา การซ่อมแซมบำรุงรักษา การจำหน่ายพัสดุที่ชำรุด การทำสัญญา การต่ออายุ สัญญา การเปลี่ยน
แปลงสัญญาซื้อสัญญาจ้าง

งานจัดเก็บและพัฒนารายได้

*   ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
*   ภาษีป้าย
*   ค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตต่างๆ

 

กองช่าง
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูลด้านโยธา การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบ และงานเขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้าง การควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนการปฏิบัติ งานก่อสร้างและซ่อมบำรุง
การควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง การควบคุมงานเกี่ยวกับแผนงานที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับ มอบหมาย โดยมีการจำแนกงานเป็นดังนี้
งานโยธามีหน้าที่
- งานวางโครงการและการก่อสร้างทางด้านโยธา
- งานให้คำปรึกษาแนะนำและบริการเกี่ยวกับงานด้านโยธา
- งานสำรวจหาข้อมูลรายละเอียดเพื่อคำนวณออกแบบงานโยธา
งานสาธารณูปโภค มีหน้าที่
- งานด้านก่อสร้างอาคาร ถนน สะพาน เขื่อน ทางเท้า และสิ่งติดตั้งอื่นๆ ฯลฯ
- งานวางโครงการและควบคุมการก่อสร้าง
- งานซ่อมบำรุงอาคาร ถนน สะพาน เขื่อน ทางเท้า
- งานควบคุมดูและอาคารสถานที่
- งานบำรุงแก้ไขและป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
- งานให้คำปรึกษาและแนะนำหรือตรวจสอบเกี่ยวกับงานก่อสร้าง
- งานประมาณราคาซ่อมบำรุงรักษา

กองสวัสดิการสังคม
มีหน้าที่เกี่ยวกับงานผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ กลุ่มสตรีแม่บ้าน เด็กและเยาวชน และด้านอาชีพ ของประชน ในเขตความรับผิดชอบของตำบลห้วยบง ซึ่งสามารถระบุกิจกรรมได้ดังนี้
- มอบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
- มอบเบี้ยยังชีพผู้พิการ
- มอบเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
- พัฒนากลุ่มสตรีแม่บ้าน
- พัฒนางานอาชีพต่างๆ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
           กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมโรค การสุขาภิบาลอื่น ๆ ตามแผนการสาธารณสุขและข้อบังคับ ตำบล การวางแผนการสาธารณสุข การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข งานเฝ้าระวังโรค การเผยแพร่ฝึกอบรม การให้สุขศึกษา การจัดทำงบประมาณตามแผนงานสาธารณสุข งานด้านสิ่งแวดล้อม การให้บริการสาธารณสุข การควบคุมการฆ่าสัตว์ จำหน่ายเนื้อสัตว์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง 
งานอนามัยและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ

งานสุขาภิบาลทั่วไป
งานสุขาภิบาลโรงงาน
งานสุขาภิบาลอาหารและสถานประกอบการ
งานอาชีวอนามัยงานส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานอนามัยชุมชน
งานสาธารณสุขมูลฐาน
งานสุขศึกษา
งานควบคุมมาตรฐานอาหารและน้ำ
งานป้องกันยาเสพติดงานรักษาความสะอาด มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานควบคุมสิ่งปฏิกูล
งานรักษาความสะอาดและขนถ่ายสิ่งปฏิกูล
งานกำจัดมูลฝอยและน้ำเสีย งานควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานส่งเสริมและเผยแพร่
งานควบคุมมลพิษ
งานศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
งานติดตามตรวจสอบงานควบคุมโรค มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
งานการเฝ้าระวัง
งานระบาดวิทยา
งานโรคติดต่อและสัตว์นำโรค
งานโรคเอดส์

 

 
กลับหน้าหลัก