หลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มาจากคำว่า ธรรมะ + อภิบาล
หมายความว่าหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
ประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 6 ประการ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม
ได้แก่การตรากฎหมาย กฏข้อบังคับต่างๆให้ทันสมัยและเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับทั้งผู้ออกกฏและผู้ปฏิบัติตาม
ตลอดจนทุกคนในสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย
2. หลักคุณธรรม
ได้แก่การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน
มีระเบียบ ตลอดจนมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจ
3. หลักความโปร่งใส
มีการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก
เปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ไม่บิดเบือนหรือปิดบังบางส่วน
4. หลักความมีส่วนร่วม
ได้แก่การเปิดโอกาสให้ทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เราทำทั้งร่วมคิด
ร่วมทำ ร่วมแก้ไข และร่วมรับผิดชอบ
5. หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้
นอกจากจะต้องมีความรับผิดชอบแล้วยังต้องสร้างกระบวนการให้หน่วยงานต่างๆมาตรวจสอบได้ว่าการทำงานของเราโปร่งใสจริง
6. หลักความคุ้มค่า
ได้แก่การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คุ้มเงิน คุ้ม เวลา คุ้มแรงงาน
พุทธสุภาษิต
"อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ"
"ตนแล เป็นที่พึ่งของตน"
อธิบายว่า บุคคลควรฝึกฝนตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจให้มีความรู้ ความสามารถ
ในด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
และหน้าที่การงาน เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจะสามารถพึ่งตนเองได้และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ด้วย
"กมฺมุนา วตฺตตี โลโก"
"สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม"
อธิบายว่า มนุษย์เรานี้มีการกระทำเกิดขึ้น อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าทำดี ทำชั่ว หรือ
พอปานกลาง ด้วยกาย วาจา ใจ
ทำกรรมด้วยกาย ท่านว่า "กายกรรม" ทำกรรมด้วยวาจา ท่านว่า "วจีกรรม"
ทำกรรมด้วยใจ ท่านว่า "มโนกรรม"
กรรมที่สัตว์โลกทั้งหลายทำไว้แล้วย่อมส่งผลต่อชีวิตประจำวัน อาจจะส่งผลช้าหรือเร็ว
ย่อมไม่มีสัตว์โลกใดๆหลีกเลี่ยง
ผลของกรรมหรือการกระทำของตนเองไปได้ ไม่ว่ากรรมดี หรือกรรมชั่ว ย่อมจะได้รับผลนั้นอย่างแน่นอน
ผู้ทำกรรมดี ย่อมไปสวรรค์ ผู้ทำกรรมชั่วย่อมไปนรก ท่านผู้ละกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง
ย่อมไปนิพพาน
"สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา"
"ความสามัคคีของกลุ่มคนย่อมนำความเจริญมาให้"
สุภาษิตข้อนี้ ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า "รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย"
นั้นหมายถึงว่า ความสามัคคี ทำให้กลุ่มคนมีความเข้มแข็ง
"นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา"
"ความกตัญญูเป็นนิมิตหมายของคนดี"
อธิบายว่า เรามีความกตัญญูคือรู้คุึณของผู้อื่นที่ท่านได้กระทำแล้วแก่เรา เป็นนิิมิตรหมายว่าเี่ราเป็นคนดี
เช่น เราสำนึกบุญคุณพ่อแม่ สำนึกบุญคุณครูอาจารย์ สำนึกบุญคุณ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
หากเราสำนึกอยู่เนื่องๆ เราย่อมเป็นคนดี และทำแต่ความดี มีประโยชน์ต่อสังคมอย่างแน่นอน
ศิลห้าข้อ คือข้อปฏิบัติของฆราวาส (ผู้อยู่ครองเรือน)
1.ปาณาติปาตา เวรมณี |
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต |
2.อทินนาทานา เวรมณี |
งดเว้นถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ด้วยตนเอง |
3.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี |
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม |
4.มุสาวาทา เวรมณี |
งดเว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ |
5.สุราเมรยมัฌชปมาทัฏฐานา วรมณี |
งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาและของมึนเมาทุกชนิด |
ธรรมห้าข้อ คือข้อปฏิบัติหลังจากได้ทำการงดเว้นสิ่งที่ไม่ดี(ศีลห้า)ทั้งห้าข้อนั้นแล้ว
1.พรมวิหารสี่ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา |
เมตตาผู้ที่ตกทุกข์ กรุณาให้โอกาสแก่ผู้ด้อยกว่า มุทิตาเคารพต่อผู้ใหญ่
อุเบกขามีความเป็นกลาง (ไม่ลำเอียง) |
2.ทาน |
ให้ทานแก่สมณะ และบุคลลทั่วไปตามอัตภาพ |
3.พรมจารีย์ |
ประพฤติพรมจรรย์ (ถือศีลแปด) |
4.สัจจะ |
สัจจะ พูดแต่ความจริง พูดให้กำลังใจผู้อื่น พูดคำสุภาพ และพูดแต่ในสิ่งที่ควรพูด |
5.สติ |
ฝึกสติ คือฝึกเป็นคนรอบคอบในทุุกๆด้าน |
มงคล 38 ประการ ในทางพระพุทธศาสนา
มงคลที่ |
ความหมาย |
1.อเสวนา จ พาลานํ |
1.การไม่คบคนพาล |
2.ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา |
2.การคบบัณฑิต |
3.ปูชา จ ปูชนียานํ |
3.การบูชาบุคลที่ควรบูชา |
4.ปฎิรูปเทสวาโส จ |
4.การได้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม |
5.ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา |
5.การที่เีคยได้ทำบุญมาก่อน |
6.อตฺตสมฺมาปณิธิ จ |
6.การที่ดำรงตนไว้โดยชอบธรรม |
7.พาหุสจฺจญฺจ |
7.การที่ได้เป็นคนฟังมามาก |
8.สิปฺปญฺจ |
8.การเป็นผู้มีศิลปะ |
9.วินโย จ สุสิกฺขิโต |
9. การเป็นผู้มีวินัยและได้ศึกษาวินัยมาอย่างดี |
10.สุภาสิตา จ ยา วาจา |
10.การที่มีวาจาเป็นสุภาษิต |
11.มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ |
11.การเลี้ยงดูบิดามารดา |
12.ปุตฺตสงฺคโห |
12.การเลี้่ยงดูบุตร |
13.ทารสฺส สงฺคโห |
13.การเลี้ยงดูภรรยา |
14.อนากุลา จ กมฺมนฺตา |
14.การทำงานไม่ให้คั่งค้าง |
15.ทานญฺจ |
15.การให้ทาน |
16.ธมฺมจริยา จ |
16.การประพฤติธรรม |
17.ญาตกานญฺจ สงฺคโห |
17.การสงเคราะห์ญาติ |
18.อนวชฺชานิ กมฺมานิ |
18.การทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดโทษทั้งตนเองและผู้อื่น |
19.อารตี วิรตี ปาปา |
19.งดเว้นจากการทำบาปต่างๆ |
20.มชฺชปานา จ สญฺญโม |
20.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา |
21.อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ |
21.การไม่ประมาทในธรรมทั้งปวง |
22.คารโว จ |
22.มีความเคารพนบน้อม |
23.นิวาโต จ |
23.มีความถ่อมตน |
24.สนฺตุฏฐี จ |
24.มีความสันโดษ |
25.กตญฺญุตา |
25.มีความกตัญญู |
26.กาเลน ธมฺมสฺสวนํ |
26.ฟังธรรมตามกาล |
27.ขนฺตี จ |
27.มีความอดทน |
28.โสวจสฺสตา |
28.การเป็นคนว่าง่าย |
29.สมณานญฺจ ทสฺสนํ |
29.การได้เห็นสมณะ |
30.กาเลน ธมฺมสากจฺฉา |
30.การสนทนาธรรมตามกาล |
31.ตโป จ |
31.การบำเพ็ญตบะ |
32.พฺรหฺมจริยญฺจ |
32.การประพฤติพรมจรรย์ |
33.อริยสจฺจาน ทสฺสนํ |
33.การได้เห็นอริยสัจจ์ |
34.นิพฺพานสจฺฉิกริยา จ |
34.การทำนิพพานให้แจ้ง |
35.ผุฏฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ |
35.จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม |
36.อโสกํ |
36.จิตไม่เศร้าโสก |
37.วิรชํ |
37.จิตปราศจากมลทิน |
38.เขมํ |
38.จิตเกษม |
อปริหานิยธรรม 7 อย่าง
(หลักธรรมที่เป็นตัวอย่างในการบริหาร)
ธรรม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว
ชื่อว่า อปริหานิยธรรม มี 7 อย่าง คือ
1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
2. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก
และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
3.ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น
ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
4. ภิกษุผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เป็นที่ซึ่งเคารพนับถือ
ภิกษุเหล่านั้นเชื่อฟังถ้อยคำของท่าน
5.ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
6. ยินดีในเสนาสนะป่า
7. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล
ซึ่งยัง
ไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุข
ธรรม 7 อย่างนี้ ตั้งอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นไม่มีความเสื่อมเลย
มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว
กลับหน้าหลัก
|