“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” คืออัตราการเก็บภาษีจากการเข้าทำปเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยระโยชน์บนที่ดินชน์ในที่ดิน และปรับปรุงปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินในท้องถิ่นให้มีความทันสมัย โดยมีผลบังคับตั้งแต่ 13 มีนาคม 2562 และเริ่มจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นครั้งแรก
ทำไมต้องจัดเก็บ“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง”
เนื่องจากภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน มีสภาพปัญหาที่สั่งสมมานาน เช่น ฐานภาษีซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้, จัดเก็บในอัตราภาษีสูง และดุลยพินิจในการประเมินค่อนข้างสูง รวมถึงราคาปานกลางไม่มีการปรับมาเป็นเวลานาน มีการยกเว้นลดหย่อนจำนวนมาก จึงนำไปสู่การปฏิรูปโครงสร้างระบบภาษีให้มีความทันสมัยเช่นเดียวกับนานาประเทศ และแก้ไขปัญหาโครงสร้างภาษีเดิม และมีวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพิ่มความเป็นอิสระและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
- สร้างความเข้มแข็งและโปร่งใสในการบริหารการคลังของ อปท.
- ช่วยให้ท้องถิ่นมีงบประมาณเพียงพอในการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดความเจริญในระยะยาว
ประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ขึ้นอยู่กับการเข้าทำประโยชน์บนที่ดิน โดยแบ่งประเภทออกเป็นที่ดินใช้ประโยชน์ และไม่ได้ใช้ประโยชน์ ดังนี้
ที่อยู่อาศัย
ถือเป็นที่ดินใช้ประโยชน์ ผู้เสียภาษีคือเจ้าของบ้านหลังหลักคือผู้ที่มีชื่อบนโฉนดและทะเบียนบ้าน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน ส่วนบ้านหลังอื่นๆ ใช้ชื่อเจ้าของบ้านที่มีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ได้
ที่อยู่อาศัยสำหรับใช้ประโยชน์อื่นๆ
กรณีเป็นอาคารที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ พาณิชยกรรม, อุตสาหกรรม, อาคารสำนักงาน, โรงแรม, ร้านอาหาร ฯลฯ
ที่ดินรกร้าง ไม่ได้ใช้ประโยชน์
กรณีเป็นที่ดินที่ทิ้งรกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ในปีก่อนหน้า ยกเว้นว่าจะมีกฎหมายห้ามหรือให้ทิ้งไว้เพื่อการเกษตร หรือปล่อยไว้เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการ
อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี พ.ศ. 2564 อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยลดภาษีในอัตราร้อยละ 90 ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้สำหรับการจัดเก็บภาษีของปีภาษี พ.ศ. 2564
อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับบ้านพักและที่อยู่อาศัย มีอัตราเพดานอยู่ที่ 0.3% พื้นที่เกษตรกรรมมีอัตราเพดานจัดเก็บ 0.15% และพื้นที่รกร้างมีอัตราเพดานอยู่ที่ 1.2% โดยมีอัตราจัดเก็บ ดังนี้
ที่ดินเกษตรกรรม
มูลค่า 0-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01
มูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03
มูลค่า 100-500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05
มูลค่า 500-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07
มูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.01
บุคคลธรรมดาได้รับยกเว้น อปท. ละไม่เกิน 50 ล้านบาท และมีภาระภาษีดังนี้
มูลค่า 50 ล้านบาท ค่าภาษี 0 บาท
มูลค่า 100 ล้านบาท ค่าภาษี 5,000 บาท
มูลค่า 200 ล้านบาท ค่าภาษี 40,000 บาท
บ้านหลังหลัก
มูลค่า 0-10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
10-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02
50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03
75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05
100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1
บ้านหลังหลัก และที่ดิน
มูลค่า 0-10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
10-50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03
75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05
100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1
บ้านหลังอื่นๆ
มูลค่า 0-10 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02
10-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02
50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03
75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05
100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1
ภาระภาษี บ้านหลังหลัก
มูลค่า 50 ล้านบาท ภาระภาษี 0 บาท
100 ล้านบาท ภาระภาษี 20,000 บาท
200 ล้านบาท ภาระภาษี 120,000 บาท
ภาระภาษี บ้านหลังอื่นๆ
มูลค่า 50 ล้านบาท ภาระภาษี 10,000 บาท
100 ล้านบาท ภาระภาษี 30,000 บาท
200 ล้านบาท ภาระภาษี 130,000 บาท
อัตราภาษีที่รกร้างว่างเปล่าและอื่นๆ
มูลค่า 0-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3
50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4
200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5
1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6
5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.7
ภาระภาษี ที่รกร้างว่างเปล่าและอื่นๆ
มูลค่า 50 ล้านบาท ภาระภาษี 150,000 บาท
100 ล้านบาท ภาระภาษี 350,000 บาท
200 ล้านบาท ภาระภาษี 750,000 บาท
1,000 ล้านบาท ภาระภาษี 4,750,000 บาท
**ที่รกร้างว่างเปล่าเพิ่มอัตรา 0.3% ทุกปี แต่อัตราภาษีรวมไม่เกิน 3%
ขั้นตอนสำหรับผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1. ตรวจสอบบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ ประเภท, ขนาด และการใช้ประโยชน์ และยื่นแก้ไขท้องถิ่นได้ทันทีหากข้อมูลไม่ถูกต้อง
2. ตรวจสอบแบบแจ้งการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ ประเภท, ขนาด, ราคาประเมิน, อัตราภาษี, การใช้ประโยชน์ และค่าภาษี หากประเมินไม่ถูกต้อง ต้องยื่นคัดค้านและอุทธรณ์
3. ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนด
การจัดเก็บภาษี
ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี
ได้แก่ เจ้าของอาคาร ระยะเวลายื่นแบบชำระภาษี ตั้งแต่เดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี ผู้ใดไม่ยื่นแบบ
แจ้งรายการชำระภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดเวลา ตามประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่มีความผิดตามมาตรา 46 ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 200 บาท
หลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปี
1.ทรัพย์สินให้เช่า ค่าเช่าสมควรถือค่าเช่าคือค่ารายปี
2. ทรัพย์สินให้เช่าค่าเช่าไม่สมควรหรือหาค่าเช่าไม่ได้ประเมินโดยเทียบเคียง
-ค่ารายปีที่ล่วงมาแล้ว
-ค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่า
3. กรณีเทียบเคียงตาม 2. ไม่ได้อาจใช้มูลค่าทรัพย์สินมาประกอบการประเมินค่ารายปีได้
4. คำนึงภาระภาษีของประชาชน
การชำระภาษี
จะต้องชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่รับทราบการประเมิน หากชำระเงินเกินกำหนดจะต้องเงินเพิ่ม ดังนี้
ภายใน 1 เดือน เพิ่ม 2.5% ของค่าภาษี
ภายใน 2 เดือน เพิ่ม 5% ของค่าภาษี
ภายใน 3 เดือน เพิ่ม 7.5% ของค่าภาษี
เกินกว่า 3 เดือน เพิ่ม 10% ของค่าภาษี
การอุทธรณ์ภาษี
หากผู้รับการประเมินไม่พอใจผลการประเมินให้ยื่นอุทธรณ์ต่อหน่วยงานจัดเก็บภาษี ภายใน 15 วัน นับแต่วันรับทราบผลการประเมิน
การประเมินภาษี
จะประเมินเรียกเก็บภาษีจากราคาปานกลางของที่ดินโดยปกติจะประเมินราคาใหม่ทุกๆ 4 ปี ฉนั้นการยื่นแบบชำระภาษีจะยื่น 4 ปี ต่อครั้ง
ระยะเวลายื่นแบบชำระภาษี
ระยะเวลายื่นแบบภายในเดือนมกราคมของทุกปี ที่มีการยื่นแบบ และภายในเดือนมกราคม – เมษายน
ของปี (หากชำระเกินเดือนเมษายนของปีภาษีจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตรา 2% ของค่าภาษีต่อเดือน) ยื่นแบบเกินกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี ยื่นไม่ถูกต้องทำให้ภาษีลดลง ปรับ 10% ของที่ประเมินเพิ่ม ชี้เขตไม่ถูกต้องเสียเพิ่ม 1 เท่าของภาษีที่ประเมินเพิ่ม
ภาษีป้าย หมายถึง ที่จัดเก็บจากป้าย แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ให้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น
เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณา ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึกหรือ
ทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
กำหนดระยะเวลายื่นแบบ
ระหว่างเดือน มกราคม – มีนาคมของทุกปี สำหรับป้ายใหม่ให้ยื่นแบบและชำระเงินภายใน 15 วันนับตั้งแต่ติดตั้งป้ายนั้นๆ การยื่นแบบเกินกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี ชำระเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือนของค่าภาษี
ประเภทป้าย ป้ายมี 3 ประเภท
ประเภทที่ 1 ป้ายที่มีข้อความภาษาไทยล้วน อัตรา 500 ตร.ซม. ต่อ 3 บาท
ประเภทที่ 2 ป้ายที่มีข้อความภาษาไทยปน เครื่องหมายหรือภาษาต่างประเทศ อัตรา 500 ตร.ซม. ต่อ 20 บาท
ประเภทที่ 3ก หมายถึงป้ายที่มีข้อความภาษาต่างประเทศ หรือเครื่องหมาย อัตรา 500 ตร.ซม. ต่อ 40 บาท
ประเภทที่ 3ข หมายถึง ป้ายที่มีข้อความภาษาไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่า ภาษาต่างประเทศ
อัตรา 500 ตร.ซม. ต่อ 40 บาท
ป้ายใดคำนวณได้ต่ำกว่า 200 บาท ให้คิด 200 บาท สำหรับการคำนวณ หากเศษของพื้นที่ต่ำกว่า 250 ตร.ซม. ให้ปัดทิ้ง ถ้าเกินกว่า 250 ตร.ซม. ให้คิด 500 ตร.ซม.
สำหรับป้ายใหม่ ที่ติดตั้งระหว่างปีให้ชำระดังนี้
ติดตั้งระหว่าง ม.ค. – มี.ค. ให้คิด 100% ของค่ารายปี
ติดตั้งระหว่าง เม.ย.- มิ.ย. ให้คิด 75% ของค่ารายปี
ติดตั้งระหว่าง ก.ค.- ก.ย. ให้คิด 50% ของค่ารายปี
ติดตั้งระหว่าง ต.ค.- ธ.ค. ให้คิด 25% ของค่ารายปี
ภาษีป้าย 1 ป้าย หมายถึง ป้ายที่มีข้อความ 1 ด้าน ถ้ามีข้อความทั้ง 2 ด้าน จะต้องชำระภาษีทั้ง 2 ด้าน
หากไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายมีโทษ
ปรับ 5,000-50,000 บาท
ค่าธรรมเนียม และค่าใบอนุญาตต่างๆ
ชำระภายในเดือนมกราคมของทุกปี ควรชำระภาษีและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่างๆ ภายในกำหนด
มิฉะนั้นจะมีความผิดและโทษ หรือต้องเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย
ติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนการคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง 248 หมู่ 8 ถนน บ้านกุดตุ้ม-บ้านหินกอง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 36000
โทร/โทรสาร 0-4412-1111
เว็บไซต์ www.huaybong.go.th
Email : saraban_06360118@dla.go.th |
กลับหน้าหลัก
|